วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สัญญาประชาคม

สัญญาประชาคม (อังกฤษ: Social contract) ในความหมายที่นำมาใช้ในการเมืองไทยปัจจุบัน หมายถึง ความตกลงร่วมกันของประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ร่วมกันหรือกลุ่มคนที่มีแนวความคิดเดียวกัน กับฝ่ายตรงข้าม เพื่อเป็นการแสวงความตกลงและทางออกของปัญหาซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบในวงกว้างซึ่งหากปล่อยไว้อาจจะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม
ความหมายที่แท้จริงนั้น "สัญญาประชาคม" หมายถึง ทฤษฎีสัญญาประชาคม อันเป็นนัยตามหลักกฎหมายธรรมชาติ มีลักษณะเป็น สำนึกของจริยธรรม ที่ผู้ปกครองควรตระหนักถึง สิทธิบางประการที่ผู้อยู่ใต้ปกครอง (ประชาคม) ได้ยอมสละไป (อาจเรียกได้ว่ายอมอยู่ใต้อำนาจของผู้ปกครอง) เพื่อความปลอดภัยของตนในสิทธิและเสรีภาพที่ยังคงเหลืออยู่ แนวคิดเช่นนี้เองที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย โดยตรรกกะจากสำนึกจริยธรรมดังกล่าว หากมองในมุมกลับกันก็หมายความว่า อำนาจแท้จริงของผู้ปกครองนั้นมาจากประชาชนนั่นเอง ดังนั้นประชาชนควรจะเป็นผู้ที่ใช้สิทธิของตนเลือกผู้ปกครองขึ้นมา และในการนี้วิธีที่เหมาะสมก็คือการใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน
มีนักคิดหลายคนที่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนในการริเริ่มแนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม เช่น






อย่างไรก็ตามจุดริเริ่มแนวคิดนี้ในหนังสือ Leviathan (The Matter, Forme and Power of a Common Wealth Ecclesiasticall and Civil) นั้น ฮอบส์ไม่ได้เขียนเพื่อมุ่งกล่าวถึงสัญญาประชาคมโดยเฉพาะเจาะจง แต่มุ่งอธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์และโครงสร้างสังคม เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวฮอบส์เองนั้นปฏิเสธหลักการแบ่งอำนาจอธิปไตย ไม่ปฏิเสธระบอบกษัตริย์ แต่กล่าวถึงแนวทางการใช้อำนาจที่เหมาะสมเท่านั้น

สรุป 
ประชาชนที่เป็นสมาชิกสังคมการเมือง ย่อมมีสิทธิธรรมชาติเสมอกันในรัฐที่ก่อตั้งขึ้นตามสัญญาประชาคม กรณีที่สมาชิกเสียงข้างน้อยได้รับผลกระทบจากการบริหาร หรือมีความเชื่อแตกต่างจากเสียงข้างมาก สิทธิของเสียงข้างน้อยก็ยังเป็นสิทธิธรรมชาติโดยสมบูรณ์ ดังนั้นพวกเขาย่อมมีสิทธิที่จะให้รัฐพิทักษ์และส่งเสริมคุ้มครองสิทธิในความแตกต่างนั้น
สิทธิในสัญญาประชาคมจึงรวมถึงสิทธิในการทำสัญญาที่แตกต่างกัน หากประชาคมยินยอม และตราบที่สัญญานั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อเจนารมณ์ทั่วไปของรัฐ ซึ่งก็คือความสงบสุขและสิทธิเสรีภาพของทุกคนนั่นเอง
ดังนั้นสิทธิในการเรียกร้องให้บังคับใช้รูปแบบของโทษที่แตกต่างกัน หรือสิทธิในการเลือกกระบวนยุติธรรมที่แตกต่างกัน จึงเป็นสิทธิตามธรรมชาติที่รัฐต้องคุ้มครองและส่งเสริมจัดให้มีขึ้นเว้นแต่ทฤษฎีสัญญาประชาคม จะยอมรับและเปิดเผยตนเองว่าเป็นเพียงมายา และเหลวไหลไร้สาระ นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น