วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันสุนทรภู่


วันสุนทรภู่  หมายถึง   วันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร(สุนทรภู่) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง   ซึ่งมีผลงานด้านบท
กลองที่มีคุณค่าแก่แผ่นดินเป็นจำนวนมาก
ความเป็นมา
          องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์   และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO)   ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั่วโลก  ด้วยการประกาศ ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ  ๑๐๐ ปีขึ้นไป   ประจำทุกปี   โดยมีวัตถุประสงค์ โดยสรุป  คือ
          ๑.   เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทาง ด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฎแก่มวลสมาชิกทั่วโลก
          ๒.   เพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
          ในการนี้   รัฐบาลไทย   โดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ   กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม   เพื่อให้ ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่องสุนทรภู่ให้ เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก
          ในวาระครบรอบ   ๒๐๐ ปีเกิด  เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๙ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๐   นายเสวตร  เปี่ยมพงศ์สานต์   อดีต รองนายกรัฐมนตรี   ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่ หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น   จึงได้กำหนดให้ 
วันที่ ๒๖ มิถุนายน  ของทุกปี   เป็นวันสุนทรภู่
          
สุนทรภู่  กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์   เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน  พ.ศ. ๒๓๒๙  ณ   บริเวณด้านเหนือของพระราชวัง (บริเวณสถานีรถไฟ บางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง  จังหวัดระยอง   ตามสันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวง อยู่ในพระราชวังหลัง   บิดามารดาเลิกร้างกันตั้งแต่สุนทรภู่เกิด บิดาออก ไปบวชที่วัดป่า  ตำบลบ้านกร่ำ   อำเภอแกลง   อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดากลับเข้าไปอยู่ใน พระราชวังหลัง   และได้ถวายตัวเป็นนางนม ของพระธิดาในกรมฯ นั้น
          
ในปฐมวัยสุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระราชวังหลัง และได้อาศัยอยู่กับมารดา   สุนทรภู่ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลัง และที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักการ แต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้นรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่ วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย   ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอน นิทานขึ้นไว้  เมื่ออายุราว ๒๐ ปี   ในระยะนี้ได้ลอบรักกับหญิงสาว ชาววังชื่อ  
"จันทร์"   จึงต้องเวรจำทั้งชายหญิง เมื่อกรมพระราชวังหลัง ทิวงคตจึงพ้นโทษ   ต่อมาจึงได้แม่จันทร์เป็นภรรยา   แต่อยู่ด้วยกันไม่ นานก็เกิดระหองระแหงคงเป็นเพราะสุนทรภู่เมาสุราอยู่เป็นนิตย์
          
ในสมัยรัชกาลที่ ๒   สุนทรภู่ได้เข้ารักราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนได้รับแต่งตั้งเป็นขุนสุนทรโวหาร   เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ ใกล้ชิด   ระยะนี้สุนทรภู่ได้หญิงชาวบางกอกน้อยที่ชื่อ นิ่ม เป็นภริยา
อีกคนหนึ่ง  ต่อมาในราว พ.ศ. ๒๓๖๔   สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุรา อาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่   แต่ติดอยู่ไม่นานก็พ้นโทษเพราะ ความสามารถในทางกลอนเป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
          สมัยรัชกาลที่ ๓   สุนทรภู่ถูกกล่าวหาด้วยเรื่องเสพสุรา   และเรื่อง อื่น ๆ จึงถูกถอดออกจากตำแหน่งขุนสุนทรโวหารต่อมาสุนทรภู่ออก บวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)   และเดินทางไปจำพรรษาตามวัดต่าง ๆ และได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวร สิ้นพระชนม์   สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท   รวมอายุพรรษาที่บวชได้ ๑๐ พรรษา   สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวช อีกครั้งหนึ่ง   แต่อยู่ได้เพียง ๒ พรรษาก็ลาสิกขาบท   และถวายตัวอยู่ กับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์   ณ พระราชวังเดิม   รวมทั้งได้อุปการะ จากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย
          เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้ครองราชย์ ทรง สถาปนาเจ้าฟ้า   กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า
เจ้าอยู่หัว   ประทับอยู่วังหน้า  (พระบวรราชวัง)    สุนทรภู่จึงได้รับ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระสุนทรโวหาร   ตำแหน่งเจ้ากรม พระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวัง  ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ และรับราชการต่อมา ได้ ๔ ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. ๒๓๙๘  รวมอายุได้ ๗๐ ปี
งานของสุนทรภู่
          หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฎเรื่องที่ยังมี ฉบับอยู่ในปัจจุบัน  คือ
         
๑.  ประเภทนิราศ
                นิราศเมืองแกลง    นิราศพระบาท     นิราศวัดเจ้าฟ้า
                นิราศเมืองสุพรรณ (แต่งเป็นโคลง)   นิราศอิเหนา
                นิราศพระประธม    นิราศเมืองเพชร
         
๒.  ประเภทนิทาน
                 เรื่องโคบุตร      เรื่องพระอภัยมณี      เรื่องพระไชยสุริยา
                 เรื่องลักษณวงศ์      เรื่องสิงหไกรภพ
          
๓.  ประเภทสุภาษิต
                สวัสดิรักษา      เพลงยาวถวายโอวาท      สุภาษิตสอนหญิง
          
๔.  ประเภทบทละคร
                 เรื่องอภัยณุราช
          
๕.  ประเภทบทเสภา
                 เรื่องขุนช้างขุนแผน      เรื่องพระราชพงศาวดาร
          
๖.   ประเภทบทเห่กล่อม
               เห่จับระบำ      เห่เรื่องพระอภัยมณี      เห่เรื่องโคบุตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น