วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มารู้จักอสงไขย


  กลับมาอีกครั้ง หลังหายไปนาน เนื่องจากไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไรดี คิดไปคิดมา หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าอสงไขยมาบ้าง เช่น หลังจากสุเมธดาบสได้รับพุทธพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าแล้ว จะใช้เวลาอีก 4 อสงไขย กับเศษอีกแสนกัป จะได้บรรลุพระสัมมาโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว 4 อสงไขย กับแสนกัป มันนานขนาดไหนละเนี่ย
                   ในบรรดาวิธีการนับในโลกนี้ ที่รู้กันโดยทั่วไป คือ หนึ่ง เป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น เป็นแสน เป็นล้าน เป็นสิบล้าน เป็นร้อยล้าน เป็นพันล้าน เป็นหมื่นล้าน เป็นแสนล้าน เป็นล้านล้าน แล้วหลังจากนั้นก็ไม่รู้จะนับอย่างไรต่อ หน่วยวัดที่มากที่สุดที่โลกใช้กันคือ ปีแสง (มากกว่านี้ก็มี เช่น Tredecillion Vigintillion แต่ไม่มีการใช้โดยทั่วไป ไม่มีกำหนดว่าใช้นับอะไร) ซึ่ง 1 ปีแสง คือระยะทาง 9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร แต่ล้านล้านปีแสงก็ยังไม่ได้เสี้ยวของอสงไขย แล้วอสงไขยหนึ่งมันนานขนาดไหน
                  จำนวนปีที่มนุษย์เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนั้นมากมายเหลือที่จะนับกันธรรมดา ในทางพุทธศาสนาจึงต้องมีหน่วยนับที่พิเศษที่จะให้เข้าใจตรงกัน ถึงความยาวนาน ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถา เล่มที่ 70 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค๑ ดังนี้
                  “บารมี ๑๐ ถ้วนนั่นเอง จัดเป็นบารมี ๓๐ ถ้วน ด้วยอำนาจบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ โดยเป็นอย่างต่ำ อย่างกลางและอย่างสูง. ผู้บริบูรณ์ดี คือผู้สมบูรณ์ ประกอบ พร้อมพรั่ง บรรลุประกอบพร้อมด้วยบารมี ๓๐ ถ้วนนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน. ชื่อว่า ราชา เพราะยังหมู่สัตว์ผู้อยู่ในสกลโลกทั้ง ๓ และกายของตนให้ยินดี คือให้ยึดติดด้วยพรหมวิหารสมาบัติ ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือด้วยความเป็นผู้มีจิตเป็นอันเดียวด้วยธรรมเครื่องอยู่แห่งผลสมาบัติ, พระราชาโดยธรรม ชื่อว่าพระธรรมราชา, พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างนี้. อธิบายว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาที่ล่วงไปแล้ว คือ จากไปแล้ว ดับแล้ว ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว มีจำนวนนับไม่ได้ คือเว้นจากการนับ ด้วยอำนาจจำนวน สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ ปโกฏิ โกฏิปโกฏิ นหุต นินนหุต อักโขภินี พินทุ อัพพุทะ นิรัพพุทะ อหหะ อพพะ อฏฏะ โสคันธิกะ อุปปละ กุมุทะ ปุณฑริกะ ปทุมะ กถานะ มหากถานะ และอสังเขยยะ
                  จะเป็นว่าอสังเขยยะ หรืออสงไขยเป็นปริมาณที่มหาศาลมาก แล้วจริงๆ คือเท่าไร คำตอบคือ
      หนึ่งอสงไขย เท่ากับ 10140  (คือ เขียนเลข 1 แล้วเติมศูนย์ไปอีก 140 ตัว)
หน่วยนับจำนวนในพระไตรปิฎก 

ร้อยแสน
เป็น

โกฏิ

ร้อยแสน โกฏิ
เป็น

ปโกฏิ

ร้อยแสน ปโกฏิ
เป็น

โกฏิปโกฏิ

ร้อยแสน โกฏิปโกฏิ
เป็น

นหุต

ร้อยแสน นหุต
เป็น

นินนหุต

ร้อยแสน นินนหุต
เป็น

อักโขภินี

ร้อยแสน อักโขภินี
เป็น

พินทุ

ร้อยแสน พินทุ
เป็น

อัพภุทะ

ร้อยแสน อัพภุทะ
เป็น

นิรพุทะ

ร้อยแสน นิรพุทะ
เป็น

อหหะ


ร้อยแสน อหหะ
เป็น

อพพะ

ร้อยแสน อพพะ
เป็น

อฏฏะ

ร้อยแสน อฏฏะ
เป็น

โสคันธิกะ

ร้อยแสน โสคันธิกะ
เป็น

อุปละ

ร้อยแสน อุปละ
เป็น

กมุทะ

ร้อยแสน กมุทะ
เป็น

ปทุมะ

ร้อยแสน ปทุมะ
เป็น

ปุณฑริกะ

ร้อยแสน ปุณฑริกะ
เป็น

อกถานะ

ร้อยแสน อกถานะ
เป็น

มหากถานะ

ร้อยแสน มหากถานะ
เป็น

หนึ่งอสงไขย



  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญเพียร เป็นเวลาอย่างน้อย 20 อสงไขย กับเศษอีกแสนกัป (ประเภทปัญญาธิกะ) ก็คือต้องบำเพ็ญเพียรเป็นเวลา 20 x 10140  ปี กับเศษอีกแสนกัป แล้วหนึ่งกัปนานขนาดไหน

กัป (กัลป์), ระยะเวลา

            กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬ  ประลัยครั้งหนึ่ง   (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม)   พระอรรถกถาจารย์ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ (ประมาณ ๑๖ ก.ม.) ทุก ๑๐๐ ปี มีเทวดานำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง  จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป   ถือว่าเป็นกัปหนึ่ง
            อายุของกัปมี ๒ แบบ คือ
            ๑. กำหนดอายุของโลก  ซึ่งอุปมามีอายุยาวนานดังความข้างต้น
            ๒. กำหนดอายุของมนุษย์ในยุคนั้นๆ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า
            ในสมัยพุทธกาล  พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงคุณของอิทธิบาท ๔ ให้พระอานนท์ทราบว่า  ผู้เจริญอิทธิบาท ๔ แล้วจะดำรงอยู่ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัปก็ได้   แต่สิ่งที่พุทธองค์ได้ทรงตรัสนั้นหมายถึงอายุกัปของมนุษย์  ไม่ได้หมายถึงอายุของโลก  อายุกัปของคนยุคนี้  ประมาณ ๘๐-๑๒๐ ปี หากจะเกินก็ไม่เกิน ๑๕๐ ปี
              หวังว่าทั้งหมดนี้คงจะทำให้หลายคนพอเข้าใจว่าอสงไขยมากขนาดไหน กัปยาวนานอย่างไร หากมีคำถาม ข้อสงสัยใด สามารถเขียนความเห็นไว้ได้
                 ขออนุโมทนาบุญผู้มีบุญมากทุกท่าน
ขอบคุณที่มาจากเว็บ http://dhammaweekly.wordpress.com/  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น