วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

ว่าด้วยเรื่องของนิรโทษกรรม


ทำไมต้อง นิรโทษกรรม



นิรโทษกรรม มีความหมายว่า การทำให้ไม่มีโทษ หรือการอันไม่มีโทษ อาจหมายถึง
นิรโทษกรรม (justifable act) – การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น แต่กฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย
นิรโทษกรรม (amnesty) – การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
นิรโทษกรรม (กฎหมายอาญา)
นิรโทษกรรม (amnesty) ในกฎหมายอาญา หมายถึง การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดนิรโทษกรรมเป็นยิ่งกว่าการอภัยโทษ เพราะกฎหมายถือว่าผู้นั้นไม่เคยกระทำผิดมาก่อน
ทางการอาจประกาศนิรโทษกรรมให้เมื่อตัดสินใจว่า การนำพลเมืองมาอยู่ใต้กฎหมายสำคัญกว่าลงโทษจากการละเมิดในอดีต นิรโทษกรรมหลังสงครามช่วยยุติความขัดแย้ง ขณะที่กฎหมายต่อต้านกบฏ การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง ฯลฯ ยังคงไว้เพื่อขัดขวางผู้ทรยศในอนาคตระหว่างความขัดแย้งในอนาคต แต่นิรโทษกรรมสร้างสำนึกให้อภัยผู้ละเมิดในอดีต หลังข้าศึกไม่หลงเหลือแล้วซึ่งได้ดึงดูดการสนับสนุนของพวกเขา แต่อีกจำนวนมากยังหลบหนีจากทางการ ข้อดีของการใช้นิรโทษกรรมยังอาจรวมการหลีกเลี่ยงการฟ้องคดีอาญาราคาแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีผู้ละเมิดจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง กระตุ้นให้ผู้ที่หลบหนีทางการกลับมาปรากฏตัว และกระตุ้นการปรองดองระหว่างผู้ละเมิดกับสังคม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น